skip to Main Content

บทสรุปการสัมมนาโครงการประชาสัมพันธ์การประเมินความเสี่ยงระดับชาติ และการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้าน AML/CFT พ.ศ.2560-2564 ระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2559

บทสรุปการสัมมนาโครงการประชาสัมพันธ์การประเมินความเสี่ยงระดับชาติ และการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้าน AML/CFT พ.ศ.2560-2564 ระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2559

สืบเนื่องจากยุทธศาสตร์ชาติด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2553-2558 ได้หมดอายุลง สำนักงานปปง จึงเริ่มจัดทำยุทธศาสตร์ชาติฉบับ พ.ศ.2560-2564 โดยการเชิญตัวแทนทุกภาคส่วนเข้าร่วมจัดทำ

สาระสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วยการสรุปผลการประเมินความเสี่ยงระดับชาติด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 รายละเอียดโดยสรุปมีดังต่อไปนี้

รายได้รวมจากการก่ออาชญากรรมตามมูลฐานความผิด มีมูลค่า 436,300 ล้านบาทต่อปี

อาชญากรรมที่ก่อให้เกิดรายได้จากการกระทำความผิดสูงสุด 5 ลำดับแรกได้แก่

  • ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  • ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
  • ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษี
  • ความผิดเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์
  • ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีภาษีศุลกากร

ซึ่งทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.18 หรือเป็นเงิน 376,000 ล้านบาทต่อปี

ช่องทางที่เสี่ยงต่อการถูกนำมาใช้ในการฟอกเงินมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่

  • ธนาคารพาณิชย์
  • อสังหาริมทรัพย์
  • ค้าของเก่า พระเครื่อง
  • องค์กรไม่แสวงหากำไร
  • ช่องทางด่านศุลกากร

สำหรับช่องทางธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา อยู่ในลำดับ 11 เนื่องจากเป็นช่องทางที่มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งมีสัดส่วนภัยคุกคามไม่สูง ขณะเดียวกันในประเทศไทยมีมาตรการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเข้มงวด มูลค่ารายได้จากอาชญากรรมที่ผ่านช่องทางธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา ประมาณ 6,770 ล้านบาท หรือ 1.55%

 

 

ความเสี่ยงด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

ภัยคุกคามด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมาจากลักษณะการก่อเหตุและจำนวนเงินที่ถูกระดมมาใช้โดยผู้ก่อการร้ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีประมาณการเงินที่นำมาใช้ในการสนับสนุนการก่อเหตุอยู่ที่ปีละประมาณ 50 ล้านบาท โดยมีเงินทุนสนับสนุนจากแหล่งต่างๆได้แก่

  • องค์กรไม่แสวงหากำไร
  • กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
  • การจัดกิจกรรมระดมทุน
  • การสนับสนุนตนเองของผู้ก่อเหตุ

ช่องทางที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะถูกใช้ในการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพื่อสนับสนุนการก่อเหตุ ได้แก่

  • ช่องทางด่านศุลกากร
  • ธนาคารพาณิชย์

เงินส่วนใหญ่ใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ ได้แก่

  • การปฎิบัติการก่อเหตุ
  • งานด้านการจัดตั้ง

ช่องทางการใช้ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย มีสัดส่วน6.5% หรือประมาณ 3.25 ล้านบาทต่อปี จัดเป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงระดับต่ำ เนื่องจากเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พบว่า

ช่องทางที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินระดับสูงได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และ ผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์

ช่องทางที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินระดับปานกลางได้แก่ ช่องทางสหกรณ์ ช่องทางธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา ช่องทางธุรกิจโอนเงิน

This Post Has 0 Comments

ใส่ความเห็น

Back To Top
Search