skip to Main Content

บทสรุปจากการสัมนากับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559

บทสรุปจากการสัมนากับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(สนง ปปง)ได้ออกกฏกระทรวง 8 ฉบับ ซึ่งได้ประกาศในราช
กิจจานุเบกษาแล้วและมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย ตั้งแต่ 22 พฤษจิกายน 2559

รายละเอียดโดยสรุปของกฏกระทรวงทั้ง 8 ฉบับ ในส่วนของการเพิ่มเติม แก้ไขกฎ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ

1 ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็น นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วน– ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมาย

2 ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็นบุคคล-ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (10) ตามกฎหมาย

รายละเอียดมีดังต่อไปนี้

1) กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อ สนง ปปง พศ 2559
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็น นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วน – ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมาย ต้องรายงานธุรกรรมการ
ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อมีจำนวนเงินสดตั้งแต่ ห้าแสนบาทขึ้นไป

2) กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องรายงานต่อ สนง ปปง (ฉบับที่ 2) พศ 2559
ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็นบุคคล- ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (10) ต้องรายงาน ในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด
มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป

3) กฎกระทรวงกำหนดผู้ประกอบอาชีพที่ดำเนินธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่
มิใช่สถาบันการเงินที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อ สนง ปปง พศ 2559

กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินที่เป็นบุคคล เป็นผู้มีหน้าที่รายงาน ตามกฎหมายป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน

4) กฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พศ 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ให้ ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินที่เป็น นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วน และผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็นบุคคลใช้แบบ ปปง 1-03 รายงาน
ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ไปยัง สนง ปปง ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่มีเหตุอันควรเชื่อWด้ว่าธุรกรรมที่ได้กระทำไปแล้วโดยมิได้มีการรายงาน
เป็นธุรกรรมที่ต้องรายงาน

ให้ ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินที่เป็น นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วน และผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน
ที่เป็นบุคคล ใช้แบบ ปปง 1-01 ในการรายงานธุรกรรมเงินสด

5) กฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พศ 2559

ลูกค้า หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทำธุรกรรมกับสถาบัน
การเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16

ผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
หรือทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 โดยไม่เคยจัดให้มีการแสดงตนและดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมายนั้นมาก่อน ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็น นิติบุคคล
และห้างหุ้นส่วน และผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็นบุคคลต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน

– กรณีลูกค้า ต้องจัดให้แสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม

– กรณีเป็นผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว จัดให้มีการแสดงตนเมื่อธุรกรรมมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป

6) กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (ฉบับที่ 2) พศ 2559

ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็น นิติบุคคล และห้างหุ้นส่วน ต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อ

-มีการทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว ไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายครั้งที่มีร่องรอยความต่อเนื่องรวมกันมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป

-มีข้อสงสัยว่าจะเป็นการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

-มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลการระบุตัวตนของลูกค้า หรือระบุตัวผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง

-ในกรณีมีการทำธุรกรรมกับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว ให้ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

1 ระบุตัวตนของลูกค้า และพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าโดยใช้เอกสาร ข้อมูล หรือข่าวสารจาก
แหล่งข้อมูลสาธารณะที่น่าเชื่อถือนอกเหนือจากการขอข้อมูลจากลูกค้าก็ได้

2 ระบุผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง และใช้มาตราการที่เหมาะสมในการพิสูจน์ทราบผู้ได้รับประโยชน์ที่
แท้จริง

3 ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า และผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า กับรายชื่อ UN List และรายชื่อ
บุคคลที่ถูกกำหนดตาม ปปง

กรณีมีการมอบอำนาจให้ทำธุรกรรมในนามของผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวให้ตรวจสอบเพื่อทราบว่าลูกค้า
ได้มีการมอบอำนาจให้สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทำธุรกรรมในนามของในนามของลูกค้าจริง และต้อง
ดำเนินการตรวจสอบบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจดังกล่าวตามข้อ 1,2,3 ข้างต้น

ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลที่ตกลงกันทาง
กฎหมาย โดยระบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า รวมทั้งทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจของลูกค้า
ตลอดจนโครงสร้างการรบริหารหรือการเป็นเจ้าของและอำนาจในการควบคุมนิติบุคคล หรือบุคคลที่ตกลงกัน
ทางกฎหมาย โดยดำเนินการระบุตัวตนของลูกค้าและผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โดยการใช้ข้อมูลและหลักฐาน ดังนี้

•ชื่อและเอกสารที่สามารถระบุการมีอยู่จริงของนิติบุคคล

•ข้อมูลเกี่ยวกับอำนาจในการควบคุม รวมทั้งให้ระบุบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีตำแหน่งบริหารระดับสูง

•สถานที่ตั้งตามที่จดทะเบียน

•ระบุผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง และพิสูจน์ทราบผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเพื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการทำธุรกรรม

ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงสำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวได้ ต้องไม่ทำธุรกรรม
และพิจารณารายงานเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อ สนง ปปง

ให้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายสำหรับผู้ที่ทำ
ธุรกรรมเป็นครั้งคราวที่มีความเสี่ยงสูงโดยดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกียวกับผู้ที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวในระดับที่เข้มข้นที่สุด

7) กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าสำหรับผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16
เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน ที่เป็นบุคคล โดยกำหนดให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
7.1 ต้องกำหนดนโยบายและดำเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการที่เป็นลายลักษณ์อักษร
สำหรับการประเมินและบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
7.2 การบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าสำหรับลูกค้าความเสี่ยงสูง
7.3 การบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าสำหรับลูกค้าความเสี่ยงต่ำ
7.4 ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
7.5 การกำกับและการตรวจสอบ

8) กฎกระทรวงกำหนดแบบ รายการ หลักเกณฑ์ และวิธีการบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรม พศ 2559
•การบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเป็นผู้บันทึกข้อเท็จจริง ลงลายมือชื่อ และ
เขียนชื่อ และนามสกุล ด้วยลายมือบรรจงกำกับไว้ พร้อมระบุวัน เดือน ปี ที่บันทึกข้อเท็จจริงไว้ด้วย
•ในกรณีที่ผู้ทำธุรกรรมมาทำธุรกรรมด้วยตนเอง ให้บันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ทำธุรกรรมให้ครบถ้วน
และในกรณีที่มีผู้ร่วมทำธุรกรรมให้บันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ร่วมทำธุรกรรมให้ครบถ้วนด้วย
•ในกรณีได้รับมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ทำธุรกรรมแทนผู้อื่น ให้บันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ที่มาทำธุรกรรมแทนให้ครบถ้วนด้วย

(ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการเพิ่มบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ในพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเดิม และยังอยู่ในระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินควรรู้ และต้องปฎิบัติตามมีดังต่อไปนี้

•อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หมายความว่าอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี ฯลฯ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
มนุษย์ สัตว์ พืช จำนวนมากหรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง

•ในกรณีที่มีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดรายชื่อบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล
หรือองค์กรใดเป็นผู้กระทำการอันเกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และสำนักงานจะประกาศรายชื่อนั้น
เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติหรือประกาศดังกล่าว

•เมื่อสำนักงานประกาศรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินต้องตรวจสอบรายชื่อผู้มาทำธุรกรรมกับ
รายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดทุกรายไม่มีข้อยกเว้น และหากตรวจพบว่าเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดต้องดำเนินการดังต่อไปนี้โดยไม่ชักช้า

1) ระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนด หรือของผู้กระทำการแทน หรือตามคำสั่งของผู้นั้น
หรือของกิจการภายใต้การครอบครองของผู้นั้น (หมายความถึงการระงับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับบุคคลที่ถูกกำหนด)

2) แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกระงับการดำเนินการให้ สนง ปปง

3) แจ้งให้ สนง ปปง ทราบเกี่ยวกับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้าซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
หรือผู้ที่มีหรือเคยทำธุรกรรมกับผู้นั้น

•กำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยงหรือแนวทางปฎิบัติใดๆเพื่อป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การ
แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

•บทกำหนดโทษผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินผู้ใด ไม่ปฎิบัติตามข้อ 1) และ 2) ข้างต้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
และปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง

•ในกรณีที่ผู้กระทำผิดข้างต้นเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำผิดเกิดจากการสั่งการหรือ การกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการ
และละเว้น ไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับ
ไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

•หากฝ่าฝืนไม่แจ้งให้ สนง ปปง ทราบเกี่ยวกับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้าซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดหรือผู้ที่มีหรือ
เคยทำธุรกรรมกับผู้นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทและปรับอีกวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือ
จนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง

•ในกรณีที่ผู้กระทำผิดข้างต้นเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำผิดเกิดจากการสั่งการหรือ การกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการ
และละเว้น ไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใน พรบ และ กฎกระทรวง ใน website ของ สนง ปปง หรือ website ของสมาคม

 

This Post Has 0 Comments

ใส่ความเห็น

Back To Top
Search